ความสามารถทางพันธุกรรมพ่อแม่พันธุ์โคนม อ.ส.ค. เป็ฯแหล่งข้อมูลทางพันธุกรรมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับพ่อและแม่พันธุ์โค ซึ่งมีการเผยแพร่เป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี 2539 ประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมโดยละเอียดเกี่ยวกับพ่อแม่พันธุ์ในประชากรโคนมของไทย พร้อมกับการจัดอันดับสัตว์โดยพิจารณาจากความสามารถทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ช่วยให้เกษตรกร ผู้ผลิตโคนมในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงสามารถระบุและคัดเลือก พ่อพันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับใช้ประโยชน์ในโปรแกรมการผสมพันธุ์

             หนังสือค่าความสามารถทางพันธุกรรมพ่อแม่พันธุ์โคนม อ.ส.ค. ประจำปี 2566 เป็นการประเมินความสามารถทางพันธุกรรม ครั้งที่ 8 ในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่าง อ.ส.ค. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยฟลิริดา โดยมีข้อมูลลักษณะปรากฎและพันธุ์ประวัติของโคที่ให้ผลผลิตน้ำนมครั้งแรก 14,086 ตัว จากฟาร์มโคนม 1,306 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้เรายังใช้การกำหนดรายละเอียดทางพันธุกรรมจีโนมด้วยซิป GeneSeek Genomic Profiler ซึ่งให้ค่าจริงและทำนายได้จำนวน 116,768 SNP จากโค 5,018 ตัว ที่เลี้ยงดูในประเทศไทย ชุดข้อมูลลักษณะปรากฎ พันธุ์ประวัติและพันธุกรรมจีโนมถูกนำมาใช้เพื่อคำนวณค่า GEBV สำหรับทุกลักษณะของสัตว์ทุกตัวในประชากร ซึ่งมีความแม่นยำสูง หนังสือค่าการผสมพันธุ์โคนม อ.ส.ค.นี้ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ผลิตโคนมได้นำข้อมูลค่า GEBV คัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ของตนเอง

ดาวน์โหลดหนังสือค่าการผสมพันธุ์โคนมอ.ส.ค. ฟรีได้แล้วที่นี่ คลิกเลย

                                                  

การพัฒนาระบบประเมินพันธุกรรมจีโนมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์โคนมในประเทศไทย

genome 1ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการประเมินความสามารถทางพันธุกรรมโคนมในประเทศไทยอยู่บนพื้นฐานของ “การทำนายค่าดีที่สุดโดยไม่มีอคติเชิงเส้น (BLUP; Best Linear Unbiased Prediction)” โดยใช้ข้อมูลลักษณะปรากฎ (Phenotype) ร่วมกับข้อมูลพันธุ์ประวัติ (Pedigree) ของโคนมแต่ละตัว องค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นหน่วยงานหลักที่ประเมินความสามารถทางพันธุกรรมของโคนมที่ถูกเลี้ยงดูของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และผลิตพ่อพันธุ์โคนมที่มีพันธุกรรมดี ด้วยข้อมูลที่จัดเก็บและบันทึกโดยบุคลากรของตนเอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2539  มาจนถึงปัจจุบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยฟลอริดา (ประเทศสหรัฐอเมริกา) “คุณค่าการผสมพันธุ์ (EBV; Estimated Breeding Value)” สำหรับโคนมพันธุ์แท้และลูกผสมแต่ละตัวถูกทำนายโดยใช้แบบจำลองสัตว์หลายลักษณะที่ประยุกต์ใช้สำหรับประชากรสัตว์หลากหลายพันธุ์ของประเทศไทย (Koonawootrittriron et al., 2002) ผลการประเมินเหล่านี้ถูกเผยแพร่และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ในรูปของหนังสือ “ค่าการผสมพันธุ์โคนม อ.ส.ค.” เป็นประจำทุกปี  อ่านเพิ่มเติม...

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดทำหนังสือค่าการผสมพันธุ์โคนม

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมฯ

 องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย

 ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนม