ที่มา: วารสารโคนม ปีที่ 17 ฉบับที่ 5
ผู้แต่ง: น.สพ.กฤช พจนอารี
หลายคนคงเคยเจอเหตุการณ์แบบว่า “พ่อสีขาวดำ แม่ก็สีขาวดำ แต่ลูกออกมาสีออกแดงๆ” กันมาบ้างแล้ว อาจจะกับวัวในฟาร์มของตัวเอง หรือของเพื่อนบ้าน และก็คงจะได้เคยร่วมวงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุกันไปต่างๆ นานา ประเด็นหนึ่งซึ่งมักจะเป็นประเด็นหลักก็คือ หมอผสมเทียมหยิบหลอดน้ำเชื้อผิดหรือเปล่า สงสัยหยิบเชื้อเรดซินดี้หรือเรดเดนมาใส่ให้ หรือไม่ก็ไปโดนวัวอื่นทับซ้ำมาล่ะมั่ง นั่นก็อาจเป็นได้ แต่อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งเป็นไปได้เหมือนกันก็คือไม่มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นเลย ลูกวัวตัวนั้นเป็นผลิตผลของพ่อโคที่มีสีขาวดำชัดเจน กับแม่โคที่มีสีขาวดำชัดเจนจริงๆ เจาะเลือดตรวจ DNA พิสูจน์แบบของ “มนต์สิทธิ์ คำสร้อย” ได้เลยแต่มันเกิดอะไรขึ้นหรือ?ลูกถึงได้ต่างจากพ่อแม่ได้ขนาดนั้น
เหตุผลก็คือ ลักษณะที่แสดงออกและเรามองเห็น หรือรู้สึกได้นั้นถูกควบคุมโดยหน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่า “ยีน” โดยยีนจะอยู่เป็นคู่ (เรียกง่ายๆ ว่า 2 อันก็แล้วกัน) โดยทุกๆ ลักษณะ ก็จะมียีนคุมอยู่เป็นชุดๆ ไป เช่น ยีนคุมสีขน ยีนคุมปริมาณน้ำนม ยีนคุมเปอร์เซ็นต์ไขมัน ฯลฯ แต่ยีนจะมี 2 พวก ด้วยกันคือ “ยีนเด่นกับยีนด้อย” (เปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ โดยให้ “ด”แทนยีนเด่น และ “ด”แทนยีนด้อย) ทีนี้เวลายีนอยูเป็นคู่ ก็มีโอกาสที่ยีนเด่นจะจับคู่กับยีนเด่น ออกมาเป็น “ดด”หรือยีนด้อยจับคู่กับยีนด้อย “ดด”เราลองมาดูในเรื่องของสีขนก่อน มีการพิสูจน์และยืนยันแน่นอนแล้วว่าสีขนขาว - ดำนั้น เป็นลักษณะเด่น (ยีนเด่น) สีขนแดงเป็นลักษณะด้อย (ยีนด้อย) เพราะฉะนั้น ลูกโคที่มียีน “ดด”จึงมีสีขาวดำ ลูกโคที่มียีน “ดด”ก็มีสีขาวดำ เพราะยีนด้อยจะถูกข่มไว้โดยยีนเด่น จึงมองเห็นลักษณะของยีนเด่นเพียงอย่างเดียว ส่วนลูกโคที่มียีน “ดด”จะมีขนสีแดง เพราะไม่มียีนเด่นมาข่มไว้ จึงแสดงลักษณะด้อยออกมา และก็ไม่ต้องสงสัยว่ายีนพวกนี้ ลูกโคได้มาจากไหนก็ต้องได้มาจากพ่อและแม่นั่นแหละให้มา โดยแบ่งมาจากพ่อ 1 อัน จากแม่อีก 1 อัน รวมเป็น 2 อัน หรือ 1 คู่ โดยจะขอเรียกพวกที่มียีน “ดด” ว่าเด่นแท้ “ดด” เรียกว่าเด่นไม่แท้ และ “ดด” ขอเรียกว่า ด้อย เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น จะแสดงอาการแบ่งยีนจากพ่อและแม่มาผสมกันเป็นยีนของลูก ซึ่งมีด้วยกัน 9กรณีโดยแต่ละกรณีจะมีโอกาสเกิดลูกต่างๆหลายแบบดังนี้
หมายเหตุ ยีนที่ขีดเส้นใต้ เช่น ดด คือยีนจากพ่อยีนที่ไม่ขีดเส้นใต้เป็นยีนจากแม่
จากแผนผังที่แสดงให้ดูทั้ง 9 แบบ จะเห็นว่าสิ่งที่เรากล่าวถึงในต้นเรื่อง ก็คือ กรณีที่ 5 คือเราเห็นรูปในแคตตาล็อกว่าพ่อพันธุ์เป็นสีขาวดำและแม่โคของเราก็สีขาวดำแน่ๆแต่ลูกออกมาเป็นสีแดงแสดงว่าทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นั้นเป็นลักษณะเด่นไม่แท้จึงมีโอกาสให้ลูกออกมาเป็นสีแดงก็ทำใจยอมรับกันหน่อยนะครับเพราะจริงๆแล้วโคสีแดงนี้ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรมีข้อมูลยืนยันแล้วว่าความสามารถในการให้น้ำนมก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับวัวสีขาวดำเลยอย่าไปยึดกับคำว่ายีนด้อยหรือลักษณะด้อยนะครับเพราะจริงๆแล้วไม่ได้ด้อยอะไรเป็นวิธีการเรียกให้เข้าใจง่ายเท่านั้นเอง
แต่ถ้าบางคนทำใจยอมรับไม่ได้จริงๆ ที่จะต้องเลี้ยงและรีดนมวัวสีแดง ก็สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ครับ เรามาเริ่มดูแผนผังกันใหม่ จะเห็นว่าถ้าพ่อหรือแม่ตัวใดตัวหนึ่งเป็นเด่นแท้ (กรณีที่ 2,3,4,9) และทั้งพ่อและแม่เป็นเด่นแท้ (กรณีที่ 1 ) ลูกที่ได้ออกมาทุกตัวจะเป็นลักษณะเด่น คือมีสีขาวดำทุกตัว (ถึงแม้บางตัวจะเป็นเด่นไม่แท้ก็ตาม) เพราะฉะนั้น ถ้าแม่วัวของเราเป็นเด่นแท้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องใดทั้งสิ้น ไม่ว่าพ่อวัวจะเป็นเด่นแท้ เด่นไม่แท้ หรือด้อยก็ตาม ลูกวัวออกมาก็จะเป็นสีขาวดำแน่นอน แต่เราไม่มีทางรู้เลยว่าแม่วัวที่เราเห็นเป็นสีขาวดำนั้นเป็นเด่นแท้หรือเปล่าก็ลองคิดใหม่ให้แม่วัวของเราเป็นเด่นไม่แท้ (ดด) ดังนั้นถ้าต้องการลูกสีขาวดำทุกตัว ก็มีทางเดียวคือต้องเลือกพ่อวัวที่เป็นเด่นแท้ (ดด) เท่านั้น (กรณีที่ 2) ทีนี้เราจะหาพ่อวัวที่เป็นเด่นแท้ได้จากไหน ก็พอจะหาได้อยู่นะครับ ที่เห็นว่ามีแน่ๆ ก็คือ พ่อวัวที่ทำการพิสูจน์ในอเมริกาซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ SIRE SUMMARY (ของที่อื่นยังไม่เคยเห็นว่ามีเรื่องนี้ตีพิมพ์) ในนั้นเขาจะบอกรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในบางตัวที่มีข้อมูล ขอเน้นนะครับว่า บางตัวที่มีข้อมูลไม่ใช่ทุกตัว!บางตัวที่ไม่บอกอะไรไว้แสดงว่าไม่มีข้อมูล โดยตัวที่เป็นเด่นแท้จะมีตัวอักษร TR อยู่ ย่อมาจาก Tested free of Red Hair Color แปลว่า ทดสอบแล้วว่าไม่มียีนด้อยที่ทำให้ขนสีแดง ส่วนตัวที่เป็นเด่นไม่แท้จะมีตัวอักษร RCย่อมาจาก Red Hair Colorแปลว่ามียีนที่ทำให้ขนสีแดงแฝงอยู่ ส่วนตัวที่เป็นด้อย ตัวมันเองมีสีขนแดงนั้น เขาคัดทิ้งไปตั้งแต่เล็กๆ แล้วครับ ไม่เอามาทำพ่อพันธุ์หรอก ไม่ต้องสนใจ บรรยายมาซะยืดยาว คงพอจะเข้าใจพื้นฐานเรื่องการถ่ายทองทางกรรมพันธุ์กันแล้วนะครับ เพราะถ้าเข้าใจแล้วต่อไปจะสนุกกับการทำงานปรับปรุงพันธุ์วัวในฟาร์มของตัวเอง มีลุ้นกันตลอดเพราะในเรื่องของการปรับปรุงพันธุ์แล้ว 1 + 1 ไม่ได้เท่ากับ 2 เสมอไปหรอกครับ