ที่มา: วารสารโคนม ปีที่ 22 ฉบับที่ 1

ผู้แต่ง: ธรรมนูญ ทองประไพ

ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงคำศัพท์พื้นฐานที่ผู้เลี้ยงโคนม ควรจะทราบเพื่อเป็นเกณฑ์ในการเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนมจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา คำศัพท์พื้นฐานเหล่านี้ จะช่วยในตัดสินใจของเจ้าของโคว่าควรที่จะใช้พ่อพันธุ์ตัวใด ปรับปรุงพันธุ์ในลักษณะที่ต้องการ กับแม่โคที่มีอยู่ในฟาร์ม ซึ่งในตอนที่แล้ว ในข้อที่กล่าวถึงการดูชื่อและหมายเลขพ่อพันธุ์ พร้อมกับยกตัวอย่างให้ดู ซึ่งมีตัวอย่างที่เป็นภาษาต่างประเทศ แต่ไม่มีชื่อและหมายเลขเป็นภาษาไทย จึงขออภัยและนำมาเพิ่มเติมในฉบับนี้ โดยพ่อพันธุ์ในตัวอย่างที่ 1 ชื่อ พาราไดส์ อาร์เซลเลอร์ 95–อี ที หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เซลเลอร์” หมายเลขประจำตัว 014 HO 02586 ส่วนพ่อพันธุ์ตามตัวอย่างที่ 2 ชื่อ ซัสเตท อีโมรี บลิทซ์ อี ที หรือเรียกสั้นๆ ว่า “บลิทซ์” หมายเลขประจำตัว 7 H 05708 ฉบับนี้เราจะดูคำศัพท์เพิ่มเติม ทีมีความสำคัญต่อการเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ ดังนี้

  1. CE C Calving Easel หมายถึง อัตราการคลอดยาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

การคลอดยากในโคสาว ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ตัวนั้นๆ (Serving Sire Caving Ease) ซึ่งหมายถึงโคสาวที่ได้รับการผสมด้วยน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ เมื่อผสมติดและตั้งท้องจนถึงกำหนดคลอดว่าโคสาวตัวนั้นคลอดยากหรือง่ายอย่างไร อัตราเฉลี่ยจะอยู่ที่ 8.2 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสูงกว่านี้ หมายถึง พ่อพันธุ์อาจให้ลูกตัวใหญ่ที่คลอดยากขึ้น แต่ถ้าต่ำ หมายถึง ขนาดของลูกอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่ใหญ่เกินไป

การคลอดยากของลูกสาวพ่อพันธุ์ (Daughter Caving Ease) หมายถึง การคลอดของลูกสาวพ่อพันธุ์ตัวนั้นๆ ว่ายากหรือง่ายเพียงไร เมื่อคลอดลูกที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 7.7 เปอร์เซ็นต์ แต่โดยทั่วไปเราจะดูอัตราการคลอดยากของโคสาว (Serving Sive Ease) เป็นหลักในการคัดเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ ซึ่งถ้าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ถือว่าดี

  1. PL (Productive Lite) หมายถึง ช่วงชีวิตการให้ผลผลิตของแม่โค ซึ่งเป็นลูกสาวของพ่อพันธุ์ ว่าจะยาวนานเท่าใด ซึ่งค่าเฉลี่ยแม่โค ในสหรัฐอเมริกา คือการให้นมได้ 5 ครั้ง (Lactation) ถ้าพ่อพันธุ์ตัวใดมีค่า PLเป็นบวกแสดงว่าแม่โคสามารถให้ผลผลิตได้มากกว่าค่าเฉลี่ย
  2. IB (Expected Inbreeding of Future Progeny) หมายถึง การคาดคะเน การเกิดการผสมเลือดชิดในอนาคต หากการเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ผสมแบสุ่ม (ผสมโดยไม่ดูพ่อพันธุ์ประวัติของพ่อพันธุ์) ซึ่งค่าเฉลี่ยในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับโคพันธุ์ขาว-ดำ จะอยู่ที่ 3 ถึง 7 ถ้าพ่อพันธุ์ตัวใดมีค่า IB ต่ำ โอกาสที่เกิดการผสมเลือดชิดจะมีมากขึ้น
  3. SCS (Somatic Cell Score) หมายถึง ค่าเฉลี่ยอัตราเม็ดเลือดขาวที่ปนอยู่ในน้ำนมของลูกสาวพ่อพันธุ์ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 2.70 ถึง 3.70 ถ้าพ่อพันธุ์มีค่า SCS O ก็แสดงว่าลูกสาวพ่อพันธุ์ตัวนั้น มีปัญหาเม็ดเลือดขาวปนอยู่ในน้ำนมน้อย

คำศัพท์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ค่อนข้างมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่จะนำมาผสมในฟาร์ม เนื่องจากจะมีผลโดยตรงต่อการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต แต่ก็ขอกล่าวย้ำอีกครั้งว่า ข้อมูลที่ระบุมาในแค็ตตาล็อกพ่อพันธุ์นั้นเป็นข้อมูลที่เป็นจริง แต่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ มิใช่ในสภาพแวดล้อมและการจัดการของประเทศไทย ดังนั้นการเลือกใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ต่างประเทศ นอกจากดูข้อมูลแล้วอาจจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ระดับของการจัดการฟาร์ม สภาพแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้ประกอบในการตัดสินใจ เลือกใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์จากต่างประเทศ ในการปรับปรุงพันธุ์โคนมในฟาร์มของท่านเอง