ตอนที่ 2 เปิดคลังอาวุธ

ที่มา: วารสารโคนม ปีที่ 25 ฉบับที่ 1

ผู้แต่ง: น.สพ.กฤช พจนอาีรี

จะรบกันทั้งที จะเอามือเปล่าไปสู้คงไม่มีทางชนะ ดังนั้นวันนี้จะพาไปดูคลังอาวุธว่าเรามีอาวุธอะไรที่จะเอาไปใช้สู้ในสงครามต่อต้านโรคเต้านมอักเสบได้บ้างเพราะอาวุธแต่ละชนิดก็มีข้อจำกัดในการใช้ที่แตกต่างกันต้องเลือกใช้ให้ถูกกับสถานการณ์ไม่อย่างนั้นอาจพบกับสถานการณ์ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ หรือขี่ช้างจับตั๊กแตน เป็นต้น อาวุธประจำฟาร์ม ทุกฟาร์มที่ประกาศตัวจะรบกับเต้านมอักเสบจะต้องมีอาวุธเหล่านี้ เพราะเป็นอาวุธพื้นฐานที่จะต้องใช้ประจำ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้ในการตรวจสอบ ตรวจหาว่ามีโรคมีเชื้อโรคอยู่ในฟาร์มในโคตัวไหนบ้าง กลุ่มที่ 2 ใช้ในการปราบปรามและทำลายเชื้อโรค

กลุ่มที่ 1

1) ถ้วยตรวจน้ำนม (Strip Cup) ต้องใช้ตรวจนมก่อนเริ่มรีดทุกตัวทุกเต้าทุกครั้งก่อนรีดนมใช้ตรวจเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ

2) น้ำยา ซี.เอ็ม.ที. ( C.M.T.) ใช้ตรวจนมโคทุกตัว ทุกเต้า เดือนละ 1 ถึง 2 ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของสถานการณ์โรคในฟาร์ม ใช้ตรวจเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ

3) ห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บ (LAB) อย่าเพิ่งตกใจว่าจะต้องสร้างห้องแล็บขึ้นในฟาร์มผมาหมายถึงให้หาห้องแล็บที่สามารถส่งตัวอย่างน้ำนมโคที่มีปัญหาไปตรวจได้ เช่น ตามโรงพยาบาลสัตว์ โรงพยาบาลคน หรือปศุสัตว์จังหวัดก็ได้ใช้ตรวจวินิจฉัยว่าเชื้อโรคตัวไหนเป็นสาเหตุของโรคเต้านมอักเสบ และตรวจว่ายาตัวไหนเหมาะสำหรับรักษา ฆ่าเชื้อตัวนั้น

กลุ่มที่ 2

1) น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีน ใช้ฆ่าเชื้อโรคเครื่องรีดนม ก่อนรีด และหลังรีดนมโคแต่ละตัวเสร็จก็แนะนำให้จุ่มเครื่องรีดลงในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนจะวัดโคตัวต่อไป เพื่อป้องกันการติดโรคระหว่างโคแต่ละตัว โดยแนะนำให้จุ่มหัวรีดลงในถังน้ำยาครั้งละ 2 หัว ไม่ใช่ทีเดียว 4 หัว พร้อมกัน เพราะการจุ่มครั้งละ 2 หัว น้ำยาจะเข้าไปในหัวฉีดได้ลึกกว่าการจุ่ม 4 หัว พร้อมกัน (ซึ่งจะถูกอากาศที่อยู่ภายในหัวรีดและถ้วยรวมนมดันสู้น้ำ น้ำเลยเข้าได้ไม่ลึก)

2) น้ำยาจุ่มเต้านม ใช้จุ่มหัวนมทุกหัว หลังรีดนมเสร็จ บางฟาร์มอาจใช้เป็นยาฆ่าเชื้อที่หัวนมก่อนรีดนมด้วยก็ได้

3) ยารักษาเต้านมอักเสบ หรือยาปฏิชีวนะนั่นแหละครับ สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบฉีดเข้าเต้าและแบบฉีดเข้ากล้าม หรือในกรณีเป็นแบบรุนแรงต้องใช้ร่วมกันทั้งเข้าเต้าและเข้ากล้าม

4) ยาดราย สำหรับโคหยุดรีดนมทุกตัว ทุกเต้า เต้าละ 1 หลอด

5) สำลีชุบแอลกอฮอล์ ก่อนฉีดยาทุกครั้งไม่ว่าจะเจ้าเต้าหรือเข้ากล้ามต้องเช็ดบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้งห้ามลืมเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นนำเอาเชื้อโรคเข้าเต้า เข้าตัวโคไปโดยไม่รู้ตัวนอกจากอาวุธประจำฟาร์มทั้ง 2 กลุ่มที่แนะนำไปแล้วนี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอาวุธ เทคนิคใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรบกับโรคเต้านมอักเสบขึ้นมาเยอะแยะ แต่ที่จะมาเปิดเผยให้ทราบในวันนี้ได้เลือกเอาบางอย่างที่คิดว่าเหมาะกับบ้านเรามาเท่านั้น ขืนกล่าวถึงทั้งหมดคงต้องใช้เวลาหลายวัน

1) ตัวยาปฏิชีวนะใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลายชนิด มีบางตัวหลังจากฉีดยาแล้ว ไม่ต้องงดส่งนมเลยก็ได้ เพราะตัวยาไม่ตกค้างในน้ำนม แล้วก็มีประเภทที่รวมกัน 2 ถึง 3 ชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้สูงขึ้น หรือบางยี่ห้อผสมยาลดการอักเสบมาพร้อมกับยาปฏิชีวนะเลยก็มี แต่ที่อยากจะฝากเตือนไว้ในการใช้ยาก็คือ ต้องอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ เพราะยาบางยี่ห้อต้องให้ทุก 2 ชม. หมายถึงวันละ 2 ครั้ง ในขณะที่ทั่วๆ ไปใช้วันละ 1 ครั้ง หรือทุก 24 ชม. อีกอย่างก็คือ เรื่องการงดส่งนมหลังให้ยา ซึ่งจะแตกต่างกันในยาแต่ละตัว ซึ่งก็มียาสอดเข้าเต้าบางยี่ห้อ ผสมสีเข้าไปในตัวหลอดยาพอเราใส่ยาเข้าเต้าไปแล้วนมจะกลายเป็นสี เช่น สีฟ้า ซึ่งสีฟ้านี้จะค่อยๆ จางลงไปเรื่อยๆ พอสีจางหายหมดกลายเป็นสีนมปกติ (ประมาณ 6 มื้อการรีดนม) ก็แสดงว่านมนั้นไม่มียาปนเปื้อนแล้ว ส่งนมได้ก็สะดวกไปอีกแบบนึงครับ

2) หลอดยาปฏิชีวนะแบบใหม่ ซึ่งความยาวของปลายหลอดจะยาวเพียง 3 ถึง 4 มม. ซึ่งถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่าหลอดยารุ่นเดิม ซึ่งยาวถึง 1.5 ถึง 3 ซม. เวลาซื้อไปใช้ดูให้ดีนะครับ ถ้าเห็นตัวฝาปิดหลอดยามีมีรอยขอดตามแบบในรูป ให้หักตรงรอยขอดใช้นะครับจะได้ความยาวหลอด 3 ถึง 4 มม. ตามที่ว่า อย่าไปถอดตรงโคนฝาปิด เพราะจะได้ปลายหลอดยาวแบบหลอดรุ่นเดิม คนขายทำมาให้เผื่อเลือกน่ะครับ สั้นก็ได้ ยาวก็ได้

3) น้ำยาจุ่มเต้า ปกติน้ำยาจุ่มเต้าทั่วๆ ไป ก็ไม่มีปัญหาอะไรในการใช้หรอกครับ แต่ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่จะเป็นน้ำยาจุ่มเต้าสำหรับวัวแห้งนมครับ คือ พอใส่ยาดรายแล้วให้ใช้นำยาตัวใหม่จุ่มปิดเต้า ซึ่งพอจุ่มไปแล้วน้ำยาจะแข็งตัวเคลือบหัวนมเอาไว้เหมือนการห่อด้วยพลาสติกบางๆ เลยทนทานอยู่ได้นานหลายวัน เพราะงานวิจัยหลายชิ้นชี้ตรงกันว่าโคมีโอกาสเป็นเต้านมอักเสบได้สูงในช่วงแห้งนมใหม่ๆ เลยต้องมีการป้องกันเชื้อโรคเข้าเต้านมในช่วงนี้เป็นพิเศษ ส่วนน้ำยาที่ใช้ในวัวรีดนมทั่วไปที่มีพัฒนาขึ้นมาใหม่ก็คือ การใส่สีที่สดใส เช่น สีชมพูเข้ม สีส้ม สีน้ำ

จะรบกันทั้งที จะเอามือเปล่าไปสู้คงไม่มีทางชนะ ดังนั้นวันนี้จะพาไปดูคลังอาวุธว่าเรามีอาวุธอะไรที่จะเอาไปใช้สู้ในสงครามต่อต้านโรคเต้านมอักเสบได้บ้างเพราะอาวุธแต่ละชนิดก็มีข้อจำกัดในการใช้ที่แตกต่างกันต้องเลือกใช้ให้ถูกกับสถานการณ์ไม่อย่างนั้นอาจพบกับสถานการณ์ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ หรือขี่ช้างจับตั๊กแตน เป็นต้น

อาวุธประจำฟาร์ม ทุกฟาร์มที่ประกาศตัวจะรบกับเต้านมอักเสบจะต้องมีอาวุธเหล่านี้ เพราะเป็นอาวุธพื้นฐานที่จะต้องใช้ประจำ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้ในการตรวจสอบ ตรวจหาว่ามีโรคมีเชื้อโรคอยู่ในฟาร์มในโคตัวไหนบ้าง กลุ่มที่ 2 ใช้ในการปราบปรามและทำลายเชื้อโรค

กลุ่มที่ 1

1) ถ้วยตรวจน้ำนม (Strip Cup) ต้องใช้ตรวจนมก่อนเริ่มรีดทุกตัวทุกเต้าทุกครั้งก่อนรีดนมใช้ตรวจเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ

2) น้ำยา ซี.เอ็ม.ที. ( C.M.T.) ใช้ตรวจนมโคทุกตัว ทุกเต้า เดือนละ 1 ถึง 2 ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของสถานการณ์โรคในฟาร์ม ใช้ตรวจเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ

3) ห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บ (LAB) อย่าเพิ่งตกใจว่าจะต้องสร้างห้องแล็บขึ้นในฟาร์มผมาหมายถึงให้หาห้องแล็บที่สามารถส่งตัวอย่างน้ำนมโคที่มีปัญหาไปตรวจได้ เช่น ตามโรงพยาบาลสัตว์ โรงพยาบาลคน หรือปศุสัตว์จังหวัดก็ได้ใช้ตรวจวินิจฉัยว่าเชื้อโรคตัวไหนเป็นสาเหตุของโรคเต้านมอักเสบและตรวจว่ายาตัวไหนเหมาะสำหรับรักษา ฆ่าเชื้อตัวนั้น

กลุ่มที่ 2

1) น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีน ใช้ฆ่าเชื้อโรคเครื่องรีดนม ก่อนรีด และหลังรีดนมโคแต่ละตัวเสร็จก็แนะนำให้จุ่มเครื่องรีดลงในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนจะวัดโคตัวต่อไป เพื่อป้องกันการติดโรคระหว่างโคแต่ละตัว โดยแนะนำให้จุ่มหัวรีดลงในถังน้ำยาครั้งละ 2 หัว ไม่ใช่ทีเดียว 4 หัว พร้อมกัน เพราะการจุ่มครั้งละ 2 หัว น้ำยาจะเข้าไปในหัวฉีดได้ลึกกว่าการจุ่ม 4 หัว พร้อมกัน (ซึ่งจะถูกอากาศที่อยู่ภายในหัวรีดและถ้วยรวมนมดันสู้น้ำ น้ำเลยเข้าได้ไม่ลึก)

2) น้ำยาจุ่มเต้านม ใช้จุ่มหัวนมทุกหัว หลังรีดนมเสร็จ บางฟาร์มอาจใช้เป็นยาฆ่าเชื้อที่หัวนมก่อนรีดนมด้วยก็ได้

3) ยารักษาเต้านมอักเสบ หรือยาปฏิชีวนะนั่นแหละครับ สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบฉีดเข้าเต้าและแบบฉีดเข้ากล้าม หรือในกรณีเป็นแบบรุนแรงต้องใช้ร่วมกันทั้งเข้าเต้าและเข้ากล้าม

4) ยาดราย สำหรับโคหยุดรีดนมทุกตัว ทุกเต้า เต้าละ 1 หลอด

5) สำลีชุบแอลกอฮอล์ ก่อนฉีดยาทุกครั้งไม่ว่าจะเจ้าเต้าหรือเข้ากล้ามต้องเช็ดบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้งห้ามลืมเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นนำเอาเชื้อโรคเข้าเต้า เข้าตัวโคไปโดยไม่รู้ตัวนอกจากอาวุธประจำฟาร์มทั้ง 2 กลุ่มที่แนะนำไปแล้วนี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอาวุธ เทคนิคใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรบกับโรคเต้านมอักเสบขึ้นมาเยอะแยะ แต่ที่จะมาเปิดเผยให้ทราบในวันนี้ได้เลือกเอาบางอย่างที่คิดว่าเหมาะกับบ้านเรามาเท่านั้น ขืนกล่าวถึงทั้งหมดคงต้องใช้เวลาหลายวัน

1) ตัวยาปฏิชีวนะใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลายชนิด มีบางตัวหลังจากฉีดยาแล้ว ไม่ต้องงดส่งนมเลยก็ได้ เพราะตัวยาไม่ตกค้างในน้ำนม แล้วก็มีประเภทที่รวมกัน 2 ถึง 3 ชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้สูงขึ้น หรือบางยี่ห้อผสมยาลดการอักเสบมาพร้อมกับยาปฏิชีวนะเลยก็มี แต่ที่อยากจะฝากเตือนไว้ในการใช้ยาก็คือ ต้องอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ เพราะยาบางยี่ห้อต้องให้ทุก 2 ชม. หมายถึงวันละ 2 ครั้ง ในขณะที่ทั่วๆ ไปใช้วันละ 1 ครั้ง หรือทุก 24 ชม. อีกอย่างก็คือ เรื่องการงดส่งนมหลังให้ยา ซึ่งจะแตกต่างกันในยาแต่ละตัว ซึ่งก็มียาสอดเข้าเต้าบางยี่ห้อ ผสมสีเข้าไปในตัวหลอดยาพอเราใส่ยาเข้าเต้าไปแล้วนมจะกลายเป็นสี เช่น สีฟ้า ซึ่งสีฟ้านี้จะค่อยๆ จางลงไปเรื่อยๆ พอสีจางหายหมดกลายเป็นสีนมปกติ (ประมาณ 6 มื้อการรีดนม) ก็แสดงว่านมนั้นไม่มียาปนเปื้อนแล้ว ส่งนมได้ก็สะดวกไปอีกแบบนึงครับ

2) หลอดยาปฏิชีวนะแบบใหม่ ซึ่งความยาวของปลายหลอดจะยาวเพียง 3 ถึง 4 มม. ซึ่งถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่าหลอดยารุ่นเดิม ซึ่งยาวถึง 1.5 ถึง 3 ซม. เวลาซื้อไปใช้ดูให้ดีนะครับ ถ้าเห็นตัวฝาปิดหลอดยามีมีรอยขอดตามแบบในรูป ให้หักตรงรอยขอดใช้นะครับจะได้ความยาวหลอด 3 ถึง 4 มม. ตามที่ว่า อย่าไปถอดตรงโคนฝาปิด เพราะจะได้ปลายหลอดยาวแบบหลอดรุ่นเดิม คนขายทำมาให้เผื่อเลือกน่ะครับ สั้นก็ได้ ยาวก็ได้

3) น้ำยาจุ่มเต้า ปกติน้ำยาจุ่มเต้าทั่วๆ ไป ก็ไม่มีปัญหาอะไรในการใช้หรอกครับ แต่ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่จะเป็นน้ำยาจุ่มเต้าสำหรับวัวแห้งนมครับ คือ พอใส่ยาดรายแล้วให้ใช้นำยาตัวใหม่จุ่มปิดเต้า ซึ่งพอจุ่มไปแล้วน้ำยาจะแข็งตัวเคลือบหัวนมเอาไว้เหมือนการห่อด้วยพลาสติกบางๆ เลยทนทานอยู่ได้นานหลายวัน เพราะงานวิจัยหลายชิ้นชี้ตรงกันว่าโคมีโอกาสเป็นเต้านมอักเสบได้สูงในช่วงแห้งนมใหม่ๆ เลยต้องมีการป้องกันเชื้อโรคเข้าเต้านมในช่วงนี้เป็นพิเศษ ส่วนน้ำยาที่ใช้ในวัวรีดนมทั่วไปที่มีพัฒนาขึ้นมาใหม่ก็คือ การใส่สีที่สดใส เช่น สีชมพูเข้ม สีส้ม สีน้ำเงินสด เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนว่าได้มีการจุ่มเต้าแล้ว หลังรีดเสร็จ ป้องกันการลืมจุ่มน้ำยาของเกษตรกร

4) ซิลิโคนเหลวอุดเต้านม (Teat seal) ใช้สำหรับวัวแห้งนมเหมือนกันครับ หลังจากใส่ยาดรายแล้ว 1 หลอดต่อ 1 เต้า ก็ใส่เจ้า Teat seal เนี่ยตามเข้าไป มันจะเหมือนซิลิโคนอุดรูรั่วให้กับหัวนมเชื้อโรคจะแทรกซึมเข้าเต้านมไม่ได้เลย ปลอดภัยตลอด 2 เดือนของการแห้งนม พอหลังคลอดก็บีบเค้นออกมา พอออกมาหมดก็รัดนมต่อตามปกติซึ่งผลการทดลองก็พบว่า ช่วยลดการเกิดเต้านมอักเสบหลังคลอด (ซึ่งติดเชื้อในช่วงแห้งนม) ได้เยอะมาก

5) ปลั๊กจุดหัวนมทำด้วยซิลิโคน ในกรณีเกิดแผลที่หัวนม ไม่ว่าจะเป็นโดนลวดหนามบาด เหยียบหัวนมตัวเอง หรืออื่นๆ เรามักจะพบปัญหาว่ารีดนมไม่สะดวก เพราะจะกระทบกระเทือนแผลก็เลยมีการใส่ปลั๊ก ให้นมไหลออกมาโดยไม่ต้องรีดพอนมออกหมด ก็อุดรูปลั๊กไว้ แต่แบบนี้เกือบ 100% จะเป็นเต้านมอักเสบตามมา เพราะเชื้อโรคเข้าตามรูขอบปลั๊กได้ง่าย เทคนิคใหม่ในการดูแล้วมีปัญหาแผลที่หัวนมก็คือ หลังทำแผลเสร็จ ให้ใส่ยารักษาเต้านมอักเสบเข้าเต้า แล้วใช้ปลั๊กรุ่นใหม่เป็นซิลิโคนแท่งอุดเข้าไป แล้วจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาจุ่มเต้าแบบพิเศษที่เคลือบหัวนมได้นาน แล้วงดรีดนมเต้านี้ไปเลยรอจนแผลหาย (7 ถึง 10 วัน) ค่อยเอาปลั๊กซิลิโคนออกแล้วรีดนมต่อตามปกติ

พอจะเห็นภาพรวมของอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับใช้ต่อสู่เต้านมอักเสบบ้างแล้วนะครับ ว่ามีการพัฒนาขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ และพยายามอุดจุดอ่อนทุกจุดของเกษตรกร เพื่อให้การทำสงครามประสบชัยชนะ ตอนนี้ก็อยู่ที่ตัวเราผู้เข้าสู่สงครามแล้วล่ะครับว่าจะเลือกอาวุธไหนมาใช้เมื่อไรและอย่างไร